การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ มีขั้นตอน ดังนี้

 การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูล

ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้มประวัตินักเรียน และแฟ้มลงทะเบียน สมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง มีการแบ่งหมวดสินค้าและบริการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
[http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/data_acc.htm]
 

การจัดเรียงข้อมูล

เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา ตัวอย่างการจัดเรียงข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลำดับตัวอักษร การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ ทำให้ค้นหาได้ง่าย
[http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/data_acc.htm]

 การสรุปผล

บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า เช่น สถิติจำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น

[http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/data_acc.htm]

 การคำนวณ

ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย
[http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/data_acc.htm]

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/06/__8.html

การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศนั้นมีหลายวิธี ทั้งวิธีที่จัดทำด้วยมือ  และให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล  ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1  วิธีการประมวลผลแบบง่ายๆ  และสามารถทำด้วยมือได้  แบ่งออกได้ดังนี้

    1.1  การจัดเรียง  คือการนำข้อมูลหลายๆ  ข้อมูลมาจัดเรียงลำดับตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยปกติ  อาจเรียงจากมากไปหาน้อย  หรือจากน้อยไปหามากก็ได้

    1.2  การหาค่าค่าเฉลี่ย  คือการนำเอาคะแนนของทุกคนมารวมกันทั้งหมดได้ผลลัพธ์เท่าไหร่ ให้เอาจำนวนคนในกลุ่มหรือจำนวนคนในห้องดังกล่าวมาเป็นตัวหาร  ค่าที่ได้ก็จะเป็นค่าค่าเฉลี่ยหรือค่ามัชฌิมเลขคณิต    

    1.3  การเปรียบเทียบ  คือการนำเอาข้อมูลประเภทเดียวกันมาตั้งแต่ 2  กลุ่มขึ้นไป  มาทำการเปรียบเทียบเพื่อหาความแตกต่างหรือความเหมือนกัน

    1.4  การหาแนวโน้ม  คือการนำเอาข้อมูลประเภทเดียวกันและชุดเดียวกัน  มาทำการเปรียบเทียบตามระยะเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  และคาดคะเนในอนาคตจะเป็นเช่นไร

 2  วิธีประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์  สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

     2.1  การประมวลผลแบบแบทซ์  ( Batch  Processing )  การประมวลผลแบบแบทซ์นั้นเมื่อข้อมูลมาถึงคอมพิวเตอร์แล้วจะถูกรวบรวมหรือเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงนำมาประมวลผล  จะอาศัยระยะเวลาในการเก็บนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้  หรืออาจจะเป็นเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาที่ได้กำหนดไว้ก็ได้

     2.2  การประมวลผลแบบเวลาจริงหรือแบบเรียลไทม์  เป็นการประมวลผลที่

คอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลในทันทีที่มีข้อมูลเข้ามาถึงคอมพิวเตอร์  และส่งผลลัพธ์จากการประมวลผลไปให้ผู้ใช้ในทันที  ซึ่งการประมวลผลแบบนี้จะทำให้ข้อมูลในระบบฐานข้อมูลเป็นปัจจุบันเสมอ  การประมวลผลแบบเวลาจริงนี้ระบบนำข้อมูลเข้า  ระบบแสดงผลของคอมพิวเตอร์จะเชื่อมโยงกันตลอดเวลา  หากอุปกรณ์ต่างๆ  อยู่ห่างไกลกันก็จะต้องมีเครือข่ายการสื่อสารเชื่อมโยงเข้ากับคอมพิวเตอร์  ทำให้ข้อมูลที่เกิดขึ้นถูกส่งเข้ามายังคอมพิวเตอร์ทันที  การะประมวลผลแบบนี้

ที่มา: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/336301

การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

ในการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลก่อน
ในการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลก่อน
การประมวลผลข้อมูล จึงเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ เพราะข้อมูลที่มีอยู่รอบ ๆ ตัวเรามีเป็นจำนวนมาก ในการใช้งานจึงต้องมีการประมวลผลเพื่อให้เป็นสารสนเทศ กิจกรรมหลักของการให้ได้มาซึ่งสารมนเทศจึงประกอบด้วยกิจกรรมการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องด้วย กิจกรรมการประมวลผลซึ่งอาจจะเป็นการแบ่งแยกข้อมูล การจัดเรียงข้อมูล การคำนวณ และกิจ กรรมการเก็บรักษาข้อมูลซึ่งอาจต้องมีการทำสำเนา หรือทำรายงานเพื่อแจกจ่าย

image

ภาพ  :  ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล

1. วิธีการประมวลผล 
วิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ตามสภาวะการนำข้อมูลมาประมวลผล ซึ่งได้แก่
1.1 การประมวลผลแบบกลุ่ม ( batch processing) หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้ง ๆ เช่น เมื่อต้องการทราบผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลโดยการเก็บรวมรวมข้อมูล เมื่อการเก็บรวมรวมข้อมูลได้แล้วก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงานผลหรือสรุปหาคำตอบ กรณีการประมวลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะเป็นครั้ง ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน เช่น การสำรวจดารายอดนิยม สำรวจนักร้องยอดนิยม สำรวจความคิดเห็นต่อรายการโทรทัศน์ต่าง ๆ เป็นต้น
ในการประมวลผลทั้ง 2 แบบนี้เป็นวิธีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยดำเนินการกับข้อมูลจำนวนมาก เพื่อแยกแยะ คำนวณ หรือดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในโปรแกรม การทำงานของคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลจึงต้องมีซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอยสั่งการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในรูปแบบที่ต้องการ

image

ภาพ  :  ประมวลผลข้อมูลแบบกลุ่ม

1.2 การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (Real Time processing) เป็นการประมวลผลแต่ละรายการและให้ผลลัพธ์ทันทีเมื่อมีการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ การประมวลผลแบบทันทีถ้าเป็นการประมวลผลรายการแบบออนไลน์จะเรียกว่า Online Transaction Processing หรือ OLTP  เช่น  การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีการที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง

image

ภาพ  :  ประมวลผลข้อมูลแบบเชื่อมตรง

ที่มา : http://www.radompon.com/web/pages/view/289/23-

ใส่ความเห็น